Forexfactory คือ ปฏิทินที่รวบรวมข้อมูลของข่าวที่ส่งผลต่อค่าเงินต่างๆ ในตลาดโลก โดย จะส่งผลทำให้ค่าเงินเกิดความแปรปรวนมาก เราสามารถใช้ผลประโยชน์จาก ปฏิทิน ข่าวของค่าเงินได้ เพื่อป้องกันการสูญเสียของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากข่าว หรือ ทำกำไรได้มาก จากข่าวการเงินในปฏิทิน เพราะเมื่อการประกาศผลจากข่าวออกมาแล้ว ค่าเงินของตลาดโลกจะค่อนข้างแรง และแปรปรวนมาก โดยทาง Blog จะสอนวิธีการตั้งค่า ปฏิทิน และ วิธีการสังเกต เพื่อเป็นประโยชน์ของนักเทรดได้ดังนี้
วิธีการตั้งค่า
ต้องทำการตั้งค่าเพื่อให้ข่าวของค่าเงิน ทุกค่าตรงกับเวลาในประเทศไทยดังต่อไปนี้
ภาพที่ 2 : การตั้งค่า Time Zone
วิธีการใช้งาน
เมื่อตั้งค่า Time Zone เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ ปฏิทินค่าเงิน ไว้คอยเช็คเพื่อความปลอดภัยของนักลงทุนเอง โดยการใช้งาน โดยวิธีการใช้งานก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยสังเกตได้จากภาพตารางปฏิทิน ดังต่อไปนี้
นักลงทุนควรรู้ว่าข่าวแต่ละข่าวนั้นมีความหมายอย่างไร และมีความสำคัญมากแค่ไหน www.forexfactory.com จะแบ่งระดับความสำคัญของข่าวออกเป็น 3 ระดับคือ High Impact , Medium Impact , Low Impact
1. ข่าวที่มีผลกระทบสูง (High Impact Expected)
Forex Factory ให้น้ำหนักข่าวกลุ่มนี้เป็นข่าวที่คาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบสูง เป็นข่าวการ ประชุมสำคัญหรือข่าวประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับค่าเงินของ ประเทศนั้น ๆ อย่างแรง ให้ดูในช่อง Currency ว่าเป็นข่าวของสกุลเงินไหน เช่น ข่าว Non-farm Payrolls จะเป็นข่าวประกาศของสกุลเงิน USD คู่เงินที่ได้รับผลกระทบคือคู่เงินที่จับคู่กับ USD โดยตรง ส่วนคู่เงินอื่นจะมีผลกระทบเหมือนกันแต่จะไม่สูงมากนัก เมื่อมีการเริ่มประชุมหรือประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 15 นาทีแรก คุณอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน หรือไปในทิศทางใดทางหนึ่งโดยไม่หยุดพัก ไม่สามารถเทรดสวนทางได้เลย ได้แก่ข่าวต่อไปนี้
Employment Change , Unemployment Rate , Average Hourly Earnings m/m , Non-Farm Employment Change , Trade Balance , Crude Oil Inventories , Manufacturing Production m/m , BOE Inflation Report , MPC Official Bank Rate Votes , Monetary Policy Summary , Official Bank Rate , Unemployment Claims , Retail Sales q/q , PPI m/m , Prelim UoM Consumer Sentiment , Building Permits , CPI m/m , Core CPI m/m , Average Earnings Index 3m/y , Claimant Count Change , FOMC Meeting Minutes , Philly Fed Manufacturing Index , BOC Rate Statement , Overnight Rate , Private Capital Expenditure q/q , Prelim GDP q/q , ADP Non-Farm Employment Change , ISM Manufacturing PMI , RBA Rate Statement , Cash Rate , RBNZ Rate Statement , BOJ Press Conference , FOMC Statement , Federal Funds Rate , FOMC Press Conference , GDP q/q
2. ข่าวที่มีผลกระทบปานกลาง (Medium Impact Expected)
ข่าวกลุ่มที่สอง Forex Factory คาดการณ์ว่าจะกระทบค่าเงินในระดับปานกลาง แม้ว่าข่าวจะอยู่ในระดับปานกลาง ก็ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะเท่ากันหมดทุกข่าว บางข่าวในกลุ่มนี้ถ้าตัวเลขเปลี่ยนแปลงมากๆ ระดับความรุนแรงก็ไม่ต่างจากกลุ่มแรกเท่าไหร่ ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟแท่งยาว ๆ ให้ได้เห็นกัน หรือถ้าตัวเลขที่ประกาศออกมาไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงกราฟก็ไม่กระชากขึ้นหรือลง ให้เห็นอย่างที่คิด ข่าวกลุ่มนี้ได้แก่
French Flash Manufacturing PMI , French Flash Services PMI , German Flash Manufacturing PMI , German Flash Services PMI , Flash Manufacturing PMI , Eurogroup Meetings , New Home Sales , Treasury Currency Report , Pending Home Sales m/m , Household Spending y/y , Spanish Unemployment Rate , Advance GDP Price Index q/q , German Retail Sales m/m , Core CPI Flash Estimate y/y , Employment Cost Index q/q , Non-Manufacturing PMI , EU Economic Forecasts , Prelim Nonfarm Productivity q/q , Building Permits m/m , Foreign Currency Reserves , NAB Business Confidence , Asset Purchase Facility , Flash GDP q/q , Capacity Utilization Rate
3. ข่าวที่มีผลกระทบต่ำ (Low Impact Expected)
ส่วนมากกลุ่มนี้ในตารางข่าวของ Forex Factory จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ถ้าในวันที่ประกาศข่าวที่มีผลกระทบต่ำนั้นไม่มีทั้งข่าวสีแดงหรือสีส้ม ถึงเป็นข่าวทั่วไปก็จะส่งผลต่อกราฟให้เห็นบ้างเหมือนกัน ได้แก่
French Consumer Spending m/m , French Prelim CPI m/m , Unemployment Rate , Italian Prelim CPI m/m , AIG Manufacturing Index , Final Manufacturing PMI , ISM Manufacturing Prices , Construction Spending m/m , Manufacturing PMI , German Final Services PMI , French Final Services PMI , Retail Sales m/m , ECB Economic Bulletin , French Trade Balance , German Trade Balance , German 10-y Bond Auction , Wholesale Inventories m/m , BOJ Summary of Opinions , French Prelim Non-Farm Payrolls q/q , Italian Prelim GDP q/q , Business Inventories m/m
จะเห็นได้ว่าข่าวบางข่าว สลับกลุ่มผลกระทบต่อค่าเงินได้เหมือนกันเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง อาจจะอยู่กลุ่มผลกระทบปานกลางในเดือนนี้แต่เดือนถัดไปอาจจะไปอยู่ในกลุ่มผล กระทบต่ำแทนก็เป็นได้ เพราะข่าวต่างๆที่ปรากฎในตารางข่าวของ Forex Factory เป็นการคาดการณ์ของทางเว็บและจัดกลุ่มขึ้นมาตามสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อให้ เข้าใจง่ายขึ้น การเทรดควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน ทั้งทางเทคนิคและข่าวสารต่างๆ อย่าให้ข่าวหลอกคุณได้ วันหนึ่งคุณอาจจะเจอคำถามว่า ข่าวออกมาดีทำไมค่าเงินอ่อน หรือข่าวออกมาไม่ดีค่าเงินกลับแข็งขึ้น ทำไม เพราะอะไร จงศึกษาเรียนรู้ให้มาก แล้วคุณจะตอบคำถามนั้นได้ด้วยตัวคุณเอง เกมส์การเงินไม่ใช่สิ่งที่จะเก็งกำไรตามข่าวหรือเทคนิคอย่างเดียวเสมอไป …
ความหมายของข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีผลกับตลาด Forex
Non-farm Payrolls หรือ NFP
ข่าวประกาศตัวเลข Non-Farm Employment Change โดยจะประกาศในวันศุกร์สัปดาห์แรกของทุกเดือน เป็นตัวเลขการจ้างงานใหม่ของสหรัฐอเมริกา ยกเว้นแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตร ตัวเลขประกาศนี้ถือเป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุดของการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา หากว่าตัวเลขที่ประกาศออกมามากกว่าที่คาดการณ์และมากกว่าตัวเลขครั้งที่แล้ว จะส่งผลให้เงิน USD แข็งค่าขึ้น สกุลเงินที่จับคู่กับ USD จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นทันที คู่เงินไหน USD อยู่ด้านหน้า (Base Currency) กราฟจะวิ่งขึ้น แต่ถ้า USD อยู่ด้านหลัง (Quote Currency) กราฟจะวิ่งลง ในทางกลับกันเมื่อประกาศข่าวแล้วตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์และตัวเลขครั้งที่ แล้วจะส่งผลให้ค่าเงิน USD อ่อนค่า กราฟก็จะวิ่งกลับกัน
Unemployment Rate
ข่าวตัวเลขอัตราการว่างงาน ของสหรัฐอเมริกา จะประกาศในช่วงศุกร์ต้นเดือน ในวันเดียวกันกับ Non-Farm Employment Change หรือถ้ากระชั้นชิดมากอาจจะเลื่อนมาศุกร์ที่สองของเดือน เป็นการประกาศตัวเลขอัตราว่างงานของเดือนที่แล้ว ตัวเลขนี้จะสะท้อนภาพเศรษฐกิจโดยตรงกล่าวคือถ้ามีการว่างงานในอัตราสูง แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ แต่ถ้าตัวเลขออกมาน้อย แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว และมีผลดีต่อค่าเงินด้วย ถ้าตัวเลขนี้ออกมาน้อยกว่าเดิม พร้อมกับตัวเลข Non-Farm Employment Change ออกมาดีค่าเงิน USD จะยิ่งมีความแข็งแกร่ง
Trade Balance
เป็นตัวเลขดุลการค้า หมายถึงความแตกต่างระหว่างการนำเข้าและส่งออกของสินค้าและบริการ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็นบวก จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี ในการดูข่าว Forex Factory ให้ดูตัวเลขที่ประกาศออกมา ถ้าตัวเลขเป็นบวกแสดงให้เห็นว่ามีการส่งออกมากกว่านำเข้า(เกินดุล) ถ้าตัวเลขเป็นลบก็แสดงว่ามีการนำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก(ขาดดุล) มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่าตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
GDP คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สิ่งนี้จะบอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะมีความหมายว่าประเทศโดยรวมมีการเจริญเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และยังมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย กลับกันถ้า GDP ลดลงเกิดจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมไม่ดี ก็จะส่งผลต่อค่าเงินในทางตรงกันข้าม
Consumer Price Index หรือ CPI
CPI หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
FOMC Meeting Minutes , FOMC Statement , Federal Funds Rate
คือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ประชุมถ้าเทียบเวลาในบ้านเราจะอยู่ในช่วงตี 1 – ตี 2 คืนวันพุธไปหาเช้าวันพฤหัสบดี การประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุม ส่วนที่สนใจกันมากที่สุดคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ย ถ้ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น และถ้าปรับลดลงค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงด้วย
Retail Sales
คือ ดัชนีค้าปลีก ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว จะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีกโดยไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales การเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมของการค้าส่ง ส่วนดัชนี PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย
Unemployment Claims
คือ จำนวนผู้ที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่ง จะบอกได้ถึงอัตราการว่างงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการประกาศทุกวันพฤหัสบดี ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
ECB President Draghi Speaks , BOJ Gov Kuroda Speaks , BOE Gov Carney Speaks
ข่าวพูดสรุปนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางรวมถึงมาตรการทางการเงินต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเงินในสกุลที่มีประกาศนโยบายออกมาทันที
ISM Non-Manufacturing PMI
คือ ดัชนีวัดสภาวะโดยรวมในภาคการบริการที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการซัพพลาย จะประกาศช่วงต้นเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นรายงานจากการสำรวจกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
CB Consumer Confidence
คือ ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในภาคครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
German Ifo Business Climate
คือ ดัชนีวัดสภาวะในภาคธุรกิจของเยอรมนี จะประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
ข่าวที่มีผลกระทบปานกลาง (Medium Impact Expected) ข่าวกล่องสีส้ม
Personal Spending
คือ ดัชนีรายจ่ายส่วนบุคคล จะประกาศช่วงปลายเดือน Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะแสดงถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Durable Goods Orders
คือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน จะประกาศประมาณวันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
คือ มูลค่ารวมของการสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม จะประกาศช่วงต้นเดือนเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Prelim Nonfarm Productivity
คือ ดัชนีวัดผลผลิตนอกภาคเกษตร จะประกาศช่วงต้นเดือนที่ 2 ของไตรมาส เป็นข้อมูลของไตรมาสที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสภาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญต่อตลาด ตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้โดยสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยน ไป เช่น ถ้าตัวเลข GDP ออกมาดี แต่ตัวเลขนี้กลับลดลงขัดกันกับ GDP ก็สามารถทำให้มีผลกระทบต่อตลาดได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
เรียบเรียงโดยทีมงาน icafeforex.com
ขอสงวนสิทธิหากนำบทความไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของท่าน กรุณาลิ้งค์กลับมายังหน้าต้นฉบับด้วยครับ…
เปิดบัญชีกับเรา
#xm – xmsignal.com
#FxPremax – http://bit.ly/2HDjGnU
#FxPrimus – http://bit.ly/2r5ffLK ประเภทบัญชี standard/ecn swap ฟรี : leverage 1:500
#FxPrimus – https://goo.gl/CzGEBe microswap ฟรี: leverage1:500
#VantageFx – http://bit.ly/2KgQ3dP ทองสเปรตต่ำ (swap free)
#HotForex – http://bit.ly/2Hwu0Ce