แนวรับ (Support) คือ ราคาใดๆที่อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 30 แต่แนวรับซึ่งเป็นราคาที่ตำกว่า 30 ลงมา (ตั้งแต่ 29ลงมา) หรือจะที่เข้าใจง่ายๆคือแนวรับคือราคาใดๆที่สามารถหยุดไม่ให้ราคาของอัตราแลกเปลี่ยนลดลงเกินกว่าแนวรับ แต่อาจมีโอกาสเด้งตัวกับขึ้นไปที่ 30 ได้อีกครั้ง และเมื่อแนวรับลงมาที่ราคา 28 ราคาที่ 29 จึงเปลี่ยนเป็นแนวต้านแทน
แนวต้าน (Resistance) คือ ราคาใดๆที่อยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน เช่นราคาปัจจุบันคือ 30 ดังนั้นแนวรับควรจะอยู่ที่ 31 ขึ้นไป แนวต้านคือราคาใดๆที่สามารถหยุดไม่ให้ราคาอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นไปสูงกว่าแนวต้าน เมื่อราคาขึ้นไปเกินราคาปัจจุบัน(30) ไปที่ 31 เราจะเรียก 31 เป็นแนวต้าน แต่หากราคาสามารถวิ่งผ่าน 31 ไปได้ แนวต้าน31 จะกลายเป็นแนวรับแทน
การทำกำไรจาก แนวรับ-แนวต้าน จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ทำกำไรจากแนวรับ-แนวต้าน ที่เคลื่อนที่ในรูปแบบเคลื่อนที่ไปด้านข้าง ซึ่งมักจะพบแนวรับ-แนวต้านลักษณะนี้ในสภาพตลาดไซด์เวย์ วิธีทำกำไรคือ ให้คุณเปิดออร์เดอร์ซื้อ เมื่อราคาเคลื่อนที่ชนแนวรับ แล้วราคาแสดงท่าที่ว่าจะไม่ผ่านแนวรับไปได้ และให้ทำการขาย เมื่อราคาเคลื่อนที่ชนแนวต้าน โดยราคามีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถผ่านแนวต้านไปได้
2. ทำกำไรจากแนวรับที่ทะลุลง แล้วกลายเป็นแนวต้าน และแนวต้านทะลุขึ้นไปแล้วกลายเป็นแนวรับ แนวรับ-แนวต้านในลักษณะนี้มักพบในสภาวะตลาดที่เป็นเทรนด์ คือราคาจะเคลื่อนไปในทิศทางใดทางหนึ่ง วิธีทำกำไรคือ ให้เปิดออร์เดอร์ซื้อ เมื่อราคาสามารถทะลุแนวต้าไปได้ หากราคาเจอแนวต้านใหม่และทะลุไปได้ให้เปิดทำการซื้อเพิ่มอีก และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนสังเกตเห็นว่าราคาแสดงท่าที่ว่าจะไม่ผ่านแนวต้านไปได้อีกและปรับตัวเองลงมา นักเทรดควรจะต้องทำการหยุดซื้อเพิ่ม และจะทำการเปิดออร์เดอร์ขาย ก็ต่อเมื่อราคาทะลุแนวรับไปได้ หากราคาเจอแนวรับใหม่และทะลุไปได้ ก็ให้ขายเพิ่มอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าราคาจะดูแล้วไม่สามารถผ่านแนวรับไปได้ และมีการปรับตัวลง ให้หยุดออร์เดอร์
สามารถหาแนวรับ-แนวต้าน ด้วยอินดิเคเตอร์หลายตัว มีดังนี้
- Fibonacci Fetracements (ฟีโบนักชี) เนื่องจาการตีเส้นแนวรับ-แนวต้านในแนวระดับ Horizontal Line ซึ่งจะใช้ได้ดีเมื่อราคาเคลื่อนไหวในกรอบไซด์เวย์ แต่หากราคาอยู่ในช่วงราคาที่เป็นแนวโน้ม (Trending) จะไม่สามารถตีเส้นแนวรับ-แนวต้านได้ จึงได้มีการคิดค้นอินดิเคเตอร์ Fibonacci Retracement โดยเลือกจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดในกรอบการเคลื่อนไหว โดยระดับแนวรับ-แนวต้านที่ระดับ 31.8 และ 61.8 ซึ่งจะเป็นจุดขายและจุดซื้อของนักลงทุน
- Moving Average (MA) หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมทั้งในตลาดหุ้นและตลาดฟอเร็กซ์ เป็นการหาค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาที่เรากำหนด โดยจะนำราคาปิดจุดสูงสุง และจุดต่ำสุด มาหาค่าเฉลี่ย เราสามารถใช้ เป็นสัญญาณในการเข้าซื้อ-เทขายได้ด้วย
- Ichimoku (อิชิโมกุ) ถูกคิดค้นโดยนักข่าวชาวญี่ปุ่นที่มีความชำนาญในตลาดการเงิน มีเครื่องมืออยู่ด้วยกัน 5 อย่าง คือ เส้นถอย (Chikou), เส้นกลางมี 2 เส้น เท็งกัง (Tenkan) และคิจุน (Kijun) , เส้นขยับ (Kumo)มี 2 เส้น คือเส้นเซนโคว สแปนเอ (Senkou Span A) และ เส้นเซนโคว สแปนบี (Senkou Span B)
แนวรับ-แนวต้านมีความสำคัญสำหรับนักลงทุน อยากให้ทำความเข้าใจเพื่อจะได้นำไปใช้ในการลงทุน