การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการส่งคำสั่งซื้อ/ขายผ่านนายหน้าหรือโบรกเกอร์ (ในประเทศไทยก็คือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์) โดยคำสั่งซื้อ/ขายฯจะถูกประมวลผลขั้นตอนสุดท้ายจนจบครบธุรกรรม ณ ตลาดหลักทรัพย์ใดๆที่นักลงทุนเลือกทำการซื้อขาย การซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือฟอเร็กซ์ ก็เป็นการส่งคำสั่งซื้อ/ขายผ่านนายหน้าหรือโบรกเกอร์เช่นกัน แต่คำสั่งเหล่านั้นไม่ได้ถูกประมวลผลที่ศูนย์กลางใดๆ ทว่าสามารถปิดธุรกรรมที่คู่ซื้อ/ขายได้เลย ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ หรือ Over the Counter หรือ OTC
การซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์คืออะไร
มีการเปรียบเทียบการซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์คล้ายการซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ แต่หากลงในรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น, Over the Counter (OTC) ก็คือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกันเองโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (Negotiated Market) ซึ่งในตลาดฟอเร็กซ์นั้น คู่สัญญาของนักลงทุนอาจเป็นได้ทั้งธนาคารหรือบริษัทนายหน้า ที่สามารถตกลงซื้อขายเงินตราต่างประเทศจนจบครบขั้นตอนธุรกรรมหลังรับคำสั่งซื้อ/ขายจากลูกค้า โดยไม่ต้องผ่านศูนย์กลางหรือหน่วยงานกำกับดูแลใดๆ ทั้งยังไม่มีการกำหนดราคาที่เป็นมาตรฐาน แต่ใช้การอ้างอิงราคาซื้อขายของตลาดโดยรวม ซึ่งราคาซื้อขายอาจต่างกันไปตามความผันผวนของตลาด ณ เวลาใดๆ การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานก็มีผลต่อราคาเช่นกัน
ทำไมตลาดฟอเร็กซ์จึงเลือกการซื้อขายแบบ OTC
ปริมาณการซื้อขายรวมถึงสภาพคล่องในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราหรือฟอเร็กซ์มีขนาดใหญ่มาก มูลค่าการซื้อขายประจำวันของตลาดเงินตรานี้สูงถึงกว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเทียบกับตลาดทุนใดๆ ดังนั้นการสร้างความมั่นใจว่า ธุรกรรมจะสำเร็จลุล่วงด้วยระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสากล โดยไม่ยึดติดกับกฎระเบียบทางการค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือหน่วยงานส่วนกลางใดๆ ที่อาจกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงทิศทางของตลาดฯไปทางใดทางหนึ่ง ตลาดฟอเร็กซ์จึงเลือกทำการซื้อขายแบบ Over the Counter ที่สามารถลดข้อจำกัดและความกังวลดังกล่าวลงได้
นอกจากนั้น การซื้อขายแบบ OTC ของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหลักๆ ที่สอดรับเรื่องเวลากันทั่วโลก ยังส่งผลให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือความผันผวนใดๆทั่วโลก ทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรม อาทิ ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนฯ รวมถึงการหักบัญชีลงได้อีกด้วย การซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ในตลาดฟอเร็กซ์เป็นระบบทางคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ด้วยต้นทุนต่ำกว่าการประมวลผลผ่านศูนย์กลางอย่างมีนัยสำคัญ
ใครเป็นใครใน OTC ตลาดฟอเร็กซ์
คู่สัญญาของนักลงทุนในตลาดซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือฟอเร็กซ์ อาจแบ่งโดยสังเขปได้ คือ
- ตัวแทนรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยตรง
- หน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารชั้นนำระดับโลก เช่น Goldman Sachs, HSBC, JP Morgan เป็นต้น ซึ่งราว 60-70 เปอร์เซ็นต์ของการซื้อขายรายวันในตลาดฟอเร็กซ์ทั่วโลก ถูกบริหารจัดการโดยธนาคารเหล่านี้ ผ่านการสื่อสารข้อมูลระหว่างธนาคารที่ซับซ้อน ความเคลื่อนไหวของค่าเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงปริมาณการซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์โดยรวม มักมีธนาคารในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องเสมอ
การซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ หรือ OTC เช่นเดียวกับที่ตลาดฟอเร็กซ์เลือกใช้เป็นวิธีการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อาจเรียกได้ว่าเป็นการซื้อขายเพียงกึ่งทางการ แต่กลับกำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด โดยมีผลการศึกษาและวิจัยในสหรัฐอเมริกา รวมถึงการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการเงินชี้ให้เห็นว่า เกือบ 85 เปอร์เซ็นต์ของนักลงทุนชาวอเมริกัน ชอบรูปแบบการซื้อขายและการทำธุรกรรมแบบ OTC ซึ่งมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น แต่ทำงานได้สะดวกและไหลลื่น ให้สัมฤทธิผลสูง ซึ่งวิธีการซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ หรือ Over the Counter นี้ ยังสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาให้ก้าวหน้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
เรียบเรียงโดยทีมงาน icafeforex.com
ขอสงวนสิทธิหากนำบทความไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของท่าน กรุณาลิ้งค์กลับมายังหน้าต้นฉบับด้วยครับ…
เปิดบัญชีกับเรา
#xm – xmsignal.com
#FxPremax – http://bit.ly/2HDjGnU
#FxPrimus – http://bit.ly/2r5ffLK ประเภทบัญชี standard/ecn swap ฟรี : leverage 1:500
#FxPrimus – https://goo.gl/CzGEBe microswap ฟรี: leverage1:500
#VantageFx – http://bit.ly/2KgQ3dP ทองสเปรตต่ำ (swap free)
#HotForex – http://bit.ly/2Hwu0Ce