Stop Loss คือการหยุดขาดทุนนั้นเอง ซึ่งมีหน้าที่ คล้าย cut loss ซึ่งจริงๆแล้วเรียกเหมือนกัน ทําไมเราถึงต้องมี Stop Loss? เหตุที่ต้องมี stop loss เพราะว่าการเคลื่อนที่ของกราฟในแต่ละวัน เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า 100 เปอร์เซ็นต์ว่ากราฟนั้นจะเคลื่อนที่ไปทางไหน เมื่อเราไม่มีทางรู้แบบนี้ โอกาสที่เราจะคาดการณ์ผิดและขาดทุนก็ต้องมีแน่นอน ถ้าเราไม่ stop loss ในการขาดทุน 1 ครั้ง อาจจะล้างพอร์ตเลยก็ได้
ตลาดเป็นตัวกำหนดว่าจะให้เรากำไรได้เท่าไหร่ แต่เราเป็นคนกำหนดว่าเราจะขาดทุนได้เท่าไหร่ หลายคนจะวิธีการหนี เมื่อราคาไม่เป็นตามอย่างที่คิด อย่างที่คาดการณ์ (การหนีในที่นี้คือการ stop loss ) บางคนอาจกำหนดไว้ว่าหยุดขาดทุนตามเวลา บางคนก็จะดูที่เปอร์เซ็นต์ อาจจะหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด ซึ่งเราสามารถแยกการ stop loss หลัก ๆ ออกได้เป็น 3 แบบคือ
- Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์)
- Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา)
- Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด)
- Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์) คือการหยุดขาดทุนตามตามจํานวนจุดที่ตั้งเปอร์เซ็นต์ไว้ บางคนอาจตั้งค่า stop loss ไว้ในแต่ออเดอร์ 10 จุด หรือถ้าขาดทุนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนเราก็สามารถตั้งค่า stop loss ได้เลย หรือการขาดทุนตามสภาวะการตลาด เราจะไม่กำหนดตัวเลขตายตัวแต่ว่าเราจะยอม stop loss ก็ต่อเมื่อมีความเหมาะสมด้านการตลาด การตั้งค่า stop loss แบบนี้ไม่ดีเลย เพราะว่าเป็นการยอมขาดทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา เป็นการตั้งค่าการขาดทุนโดยที่ไม่มีเหตุผล
- Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา) คือการหยุดขาดทุนเมื่อเราไม่แน่ใจถึงอนาคต บางคนอาจจะไม่ยอมเทรดข้ามวัน แต่เมื่ออยากเสี่ยงก็ต้องยอม เช่นพอจะนอนก็ทำการปิดออเดอร์ แล้วจึงค่อยนอน บางคนอาจจะไม่เทรดวันศุกร์เพราะว่าข้ามสัปดาห์อาจเกิดการผันผวนได้ ดังนั้นพอถึงวันศุกร์ก็รีบปิดออเดอร์ให้หมดก่อนเป็นต้น ดังนั้นการ stop loss แบบนี้เป็นการไม่อยากเสี่ยงในช่วงเวลาที่เราไม่แน่ใจจริงๆ
- Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด) คือการหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาดเป็นมีกฎการหยุดขาดทุนที่ไม่ตายตัว จะเปลี่ยนรูปแบบ ถ้าราคาเคลื่อนและเทคนิคการ Stop Loss ไปตามสภาวะตลาด เช่น เป็นเทรนด์ก็จะทำการ stop loss ไล่ตามราคา ถ้าราคาเคลื่อนที่ในกรอบก็จะตั้ง stop loss ไล่ตามแนวรับแนวต้าน เป็นต้น วิธีนี้เป็นการหยุดการขาดทุนแบบมีเหตุผล
สมมุตว่าราคาเคลื่อนที่ในกรอบ เราก็ควรตั้ง Stop Loss ห่างออกจากแนวรับแนวต้านไปอีกนิดหนึ่ง เพื่อป้องกันการแกว่งตัวที่จะเกิดขึ้น เราก็ควรตั้ง Stop Loss ห่างออกจากแนวรับแนวต้านไปอีกนิดหนึ่ง เพื่อป้องกันการแกว่งตัวที่จะเกิดขึ้น
สมมติว่าราคาเคลื่อนที่เป็นเทรนเราก็ควรเลือกตั้ง stop loss ตามราคา บางคนอาจจะเลื่อนตามจุดพักตัวเดิม หรือบางคนกำหนดระยะห่างไม่ควรตั้งนิ่งๆ ทิ้งไว้เฉยๆ เพราะว่าถ้าราคากลัวตัวเราอาจจะพลาดกำไรครั้งใหญ่ทั้งๆ ที่เรานั้นควรจะได้มา สมมติว่าราคานั้นได้มีการกลับตัวเราก็จะโดน stop loss อันล่าสุดที่เราตั้งไว้
การตั้ง stop loss แบบกว้างและแบบแคบ ข้อดีของการตั้งแบบแคบก็คือ เมื่อราคาเคลื่อนที่ผิด เราจะขาดทุนไม่มากนัก ข้อเสียของการตั้งแบบแคบคือถ้าราคามีการแกว่งตัวมาก อาจจะโดน stop loss ที่เราตั้งไว้อาจทำให้เราพลาดโอกาสได้กำไรที่ควรจะได้
ข้อดีของการตั้ง stop loss แบบกว้างคือ เมื่อราคามีการแกว่งตัวมาก โอกาสที่จะโดน stop loss ได้ก็มีน้อย ทำให้เราไม่พลาดโอกาสที่จะได้กำไรที่เราควรจะได้รับ ข้อเสียของการตั้งราคา stop loss แบบกว้างคือ อาจทำให้เราขาดทุนค่อนข้างมากหน่อย
เรียบเรียงโดยทีมงาน icafeforex.com
ขอสงวนสิทธิหากนำบทความไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของท่าน กรุณาลิ้งค์กลับมายังหน้าต้นฉบับด้วยครับ…
เปิดบัญชีกับเรา
#xm – xmsignal.com
#FxPremax – http://bit.ly/2HDjGnU
#FxPrimus – http://bit.ly/2r5ffLK ประเภทบัญชี standard/ecn swap ฟรี : leverage 1:500
#FxPrimus – https://goo.gl/CzGEBe microswap ฟรี: leverage1:500
#VantageFx – http://bit.ly/2KgQ3dP ทองสเปรตต่ำ (swap free)
#HotForex – http://bit.ly/2Hwu0Ce